วิธีการใช้งานนวัตกรรม

ระบบการกำหนดสีตัวอักษร พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
เพื่อช่วยอ่านสะกดคำภาษาไทย

นวัตกรรมนี้ครูผู้สอนภาษาไทย สามารถออกแบบสื่อการสอนสร้างใบความรู้ภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอ่านสะกดคำให้ผู้เรียนได้ด้วยตัวเองเพิ่มเติม ส่งผลให้สัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยดีขึ้น อีกทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจ สามารถสร้างชุดคำศัพท์การอ่านสะกดคำ ผ่านนวัตกรรมแบบออนไลน์ได้ทุกที่โดยไม่จำกัดเวลา โดยนวัตกรรมถูกออกแบบด้วยแนวคิดการกำหนดสีตัวอักษร สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ด้วยสีแตกต่างกันซึ่งมีผลกระตุ้นการทำงานของสมองในทุกด้าน ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-based Learning) ทำให้นักเรียนสนุกท้าทายในการเรียนภาษาไทยมากขึ้น ซึ่งสามารถต่อยอดนวัตกรรมเป็นเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นให้ความรู้เพิ่มทักษะทั้งทางด้านการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ในวิชาภาษาไทย แก่นักเรียนและผู้สนใจได้อย่างกว้างขวาง

ภาพที่ 1 แสดงหน้าแรกของเว็บไซต์ http://pasathai.kroopavinee.com

1. ส่วนเครื่องมือสร้างชุดคำภาษาไทย

เป็นเครื่องมือสำหรับให้ครูผู้สอนเลือกเพื่อเพิ่มคำอ่านศัพท์ภาษาไทยที่ต้องการ ด้วยวิธีการพิมพ์คำศัพท์ทีละคำแล้วคั่นด้วยการเคาะวรรค 1 ครั้ง หรือหากมีคำศัพท์ในรูปแบบ Excel สามารถทำการคัดลอกมา ยังช่อง “เพิ่มคำภาษาไทย” ดังแสดงภาพตัวอย่างที่ 2
ภาพที่ 2 แสดงเครื่องมือสำหรับสร้างใบความรู้ด้วยการกำหนดสีตัวอักษร
ภาพที่ 3 แสดงวิธีการคัดลอกช่องกลุ่มข้อมูลในโปรแกรม Excel

หลังจากทำการคัดลอกคำศัพท์ต้นฉบับมาแล้ว ให้คลิกที่ ปุ่ม และทำตามขั้นตอน ดังภาพ หมายเลข 1- 9 รายละเอียดดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนสร้างใบความรู้จากเครื่องมือของระบบ

หมายเลข 1 พิมพ์คำภาษาไทยทีละคำคั่นด้วยการเคาะ 1 ครั้ง หรือนำรายการข้อมูลที่ได้เลือกจากโปรแกรม Excel วางลงช่องว่างสำหรับนำไปสร้างเป็นชุดคำศัพท์ด้วย คำสั่ง Paste

ภาพที่ 5 แสดงวิธีการใช้คำสั่ง Paste เพื่อวางคำศัพท์ลงในช่องว่าง

หมายเลข 2 ปรับแต่งตามจำนวนคอลัมน์ในตาราง สำหรับการแสดงผลของชุดคำศัพท์ในใบความรู้ สามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ 1 คอลัมน์ ถึง 10 คอลัมน์

ภาพที่ 6 แสดงวิธีการปรับแต่งจำนวนคอลัมน์สำหรับตาราง

หมายเลข 3 เลือกความสูงของคอลัมน์ในตาราง สำหรับการแสดงผลของชุดคำศัพท์ในใบความรู้ สามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ 10 pixel ถึง 630 pixel

ภาพที่ 7 แสดงวิธีการปรับแต่งความสูงของคอลัมน์สำหรับตาราง

หมายเลข 4 เลือกรูปแบบตัวอักษรสำหรับการแสดงผลสำหรับชุดคำศัพท์มีให้เลือกถึง 26 รูปแบบ

ภาพที่ 8 แสดงวิธีการปรับแต่งรูปแบบตัวอักษรในใบความรู้

หมายเลข 5 เลือกขนาดตัวอักษรในตาราง สำหรับการแสดงผลของชุดคำศัพท์ในใบความรู้ สามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ 4 pixel ถึง 320 pixel

ภาพที่ 9 แสดงวิธีการปรับแต่งขนาดตัวอักษรสำหรับใบความรู้

หมายเลข 6 วิธีการกำหนดชื่อใบความรู้สำหรับชุดคำศัพท์ เช่น ชุดคำศัพท์ฝึกอ่าน ชุดที่ 1 ซึ่งผู้จัดทำสามารถกลับมาแก้ไขชื่อใบความรู้ได้อีกครั้ง เพื่อให้สัมพันธ์กับรายการคำภาษาไทยในใบงาน

ภาพที่ 10 แสดงการกำหนดชื่อสำหรับใบความรู้

หมายเลข 7 รหัสลับ ระบบจะสุ่มรหัสลับเบื้องต้นสำหรับการแก้ไขชุดคำศัพท์ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแก้ไขรหัสลับเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรอื่น ๆ ได้ โดยผู้ใช้สามารถเข้ามาแก้ไขชุดคำศัพท์หรือรูปแบบสำหรับใบงานอีกได้ตามต้องการ ซึ่งผู้ใช้ต้องจดจำรหัสลับ เพื่อใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของใบงานของตัวเอง ในกรณีที่ลืมรหัสลับ โปรดติดต่อ ครูภาวินี พรมโคตรค้า ตามข้อมูลในเว็บไซต์ pasathai.kroopavinee.com

ภาพที่ 11 แสดงรหัสลับเพื่อการจดจำในการกลับมาแก้ไข

หมายเลข 8 เมื่อตั้งค่ารูปแบบต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม “เริ่มแปลงสีคำภาษาไทย” ให้ผู้ใช้คลิกปุ่มเริ่มแปลงสี ระบบจะทำการประมวลผล หากมีรายการคำศัพท์มากอาจจะใช้เวลา 4-5 วินาที หรือบางครั้งมากกว่านั้น เพื่อขั้นตอนกำหนดตัวอักษรอัตโนมัติ ซึ่งแล้วแต่จำนวนคำ จำนวนผู้ใช้งาน หรือความเร็วของอินเตอร์เน็ตของผู้งานเอง ตามหลักการกำหนดสีตัวอักษรของระบบ มีดังต่อไปนี้

ภาพที่ 12 แสดงการกำหนดสีให้ตัวอักษรแบบต่างๆ

เมื่อระบบดำเนินการประมวลผลกำหนดสีตัวอักษรเรียบร้อยแล้วจะ แสดงผลดังภาพที่ 13

ภาพที่ 13 แสดงผลรายการคำภาษาไทยในใบความรู้

หมายเลข 9 เมื่อตั้งค่ารูปแบบต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม “เริ่มแปลงสีคำภาษาไทย” ให้ผู้ใช้คลิกปุ่มเริ่มแปลงสี ระบบจะทำการประมวลผล หากมีรายการคำศัพท์มากอาจจะใช้เวลา 4-5 วินาที หรือบางครั้งมากกว่านั้น เพื่อขั้นตอนกำหนดตัวอักษรอัตโนมัติ ซึ่งแล้วแต่จำนวนคำ จำนวนผู้ใช้งาน หรือความเร็วของอินเตอร์เน็ตของผู้งานเอง ตามหลักการกำหนดสีตัวอักษรของระบบ มีดังต่อไปนี้

ภาพที่ 14 แสดงการส่งออกเป็นเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF


ส่วนที่ 2 ส่วนแสดงผลและเผยแพร่ใบความรู้ชุดคำภาษาไทยที่ได้สร้างไว้แล้ว

ที่หน้าจอหลักของการทำงาน ระบบจะแสดงผลการสร้างชุดคำศัพท์ไว้ โดยได้แสดงถึงจำนวนคำ และเวลาที่ใช้แก้ไขล่าสุดไว้ ดังภาพที่ 15

ภาพที่ 15 แสดงผลรายการใบงานที่ถูกสร้างโดยผู้ใช้งาน

ส่วนที่ 3 ส่วนการเข้าแก้ไขใบงานโดยใช้รหัสลับ

หลังจากครูผู้สอนออกแบบใบงานคำภาษาไทยและเผยแพร่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากต้องการเข้าแก้ไขคำศัพท์หรือรูปแบบการแสดงของใบงาน สิ่งสำคัญจะต้อง “จดจำรหัสลับ” ในขั้นตอนการสร้างชุดคำภาษาไทย เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนการแก้ไข ดังต่อไปนี้

3.1 เลือก แก้ไขคำชุดนี้ เพื่อเข้าสู่หน้าจอการป้อนรหัสลับ ดังภาพ 19

ภาพที่ 19 แสดงผลการเลือกเมนูเพื่อไปยังขั้นตอนการแก้ไข

3.2 เลือก แก้ไขคำชุดนี้ เพื่อเข้าสู่หน้าจอการป้อนรหัสลับ ดังภาพ 20

หากป้อนรหัสผิดพลาดเกิน 5 ครั้ง ระบบจะทำการกลับไปสู่หน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้ลืมรหัสลับของตนเองโปรดติดต่อ ครูภาวินี พรมโคตรค้า ตามข้อมูลในเว็บไซต์ pasathai.kroopavinee.com

ภาพที่ 20 แสดงผลการเลือกเมนูเพื่อไปยังขั้นตอนการแก้ไข


อัพเดทคู่มือ :23 ธันวาคม 2562

นางภาวินี พรมโคตรค้า (ครูชำนาญการพิเศษ)
ติดต่อ: ๐๘๙ ๘๔๔ ๖๖๒๘ (ครูติ๊ก)
โรงเรียนบ้านก้างปลา สพป.เลย เขต ๑
หมู่ที่ ๙ บ้านก้างปลา ตำบล ชัยพฤกษ์ อำเภอ เมืองเลย จังหวัด เลย ๔๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๔๒๘๑๓๕๕๕


แลกเปลี่ยนเรียนรู้และคุณคิดเห็นอย่างไรกับใบความรู้นี้